ท่องเที่ยวทั่วไทยไปกับ THAIFLY

ท่องเที่ยวทั่วไทยไปกับ THAIFLY

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของเงินไทย


     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ไทย พระองค์แรกที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปเงินตราไทยจากที่เคยใช้เงินพดด้วงหรือเงินกลม ที่ใช้มาแต่โบราณกาลให้มาใช้เงินเหรียญหรือเงินแบน แบบประเทศทางตะวันตก เงินเหรียญ    ได้โปรดเกล้าฯให้ประเทศใช้เงินเหรียญนอกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ ครั้งที่สองเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๐ และได้ประกาศพิกัดเงินเหรียญนอก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๗ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงได้ยกเลิกการใช้เหรียญนอกเงินเหรียญนี้ หน้าหนึ่งมีตรารูปพระมหาพิไชยมงกุฎอยู่กลาง มีฉัตรกระหนาบอยู่สองข้าง มีกิ่งไม้เป็นเปลวแซก อยู่ในท้องลาย อีกหน้าหนึ่งเป็นรูปกงจักร กลางใจจักรมีรูปช้างประจำแผ่นดิน รอบวงจักรชั้นนอกเหรียญบาทมีดาวอยู่แปดทิศ แสดงว่าแปดเฟื้อง เหรียญสองสลึงมีดาวอยู่สี่ทิศ แสดงว่าสี่เฟื้อง เหรียญสลึงมีดาวอยู่ข้างบนและข้างล่างสองดวง แสดงว่าสองเฟื้อง และเหรียญเฟื้องมีดาวอยู่ด้านบนดวงเดียว นอกจากนี้ยังมีเหรียญ หนึ่งตำลึง กึ่งตำลึง และกึ่งเฟื้อง แต่ไม่ได้นำออกใช้ตามแจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๓๘ พบว่ามีเหรียญตรามงกุฎดังกล่าวให้แลกอยู่ ๖ ราคา ด้วยกัน คือ ราคา สองบาท หนึ่งบาท สองสลึง หนึ่งสลึง หนึ่งเฟื้อง และ สองไพ
 
กะแปะอัฐและโสฬส

     เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๕ ได้มีประกาศให้ใช้กะแปะอัฐ และโสฬสขึ้นใหม่ ด้วยว่าสมัยโบราณไทย และลาวใช้หอยชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเบี้ย ใช้แทนเงินปลีก โดยคิดอัตราแปดร้อยเบี้ยต่อหนึ่งเฟื้อง สำหรับกะแบะอัฐและโสฬสเมื่อนำมาแลกเปลี่ยนขอรับเงินจากพระคลังมหาสมบัติ กำหนดอัตราไว้ ๘ อัฐต่อเฟื้อง และ ๑๖ โสฬสต่อเฟื้อง โดยไม่ลดหย่อนแม้เนื้อโลหะที่ทำจะสึกกร่อนไปเพราะการใช้งาน แต่ถ้าเนื้อโลหะขาดบิ่น มูลค่าจะลดลงตามน้ำหนักที่หายไป

     เบี้ยหอย   

     นับแต่โบราณมามีการใช้เบี้ยหอยเป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับทวีราชอาณาจักร มาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เบี้ยดีบุกและเบี้ยทองแดงแทนเบี้ยหอย มีขนาดและชื่อเรียกกันต่าง ๆ ดังนี้
๑. เบี้ยโพล้ง
๒. เบี้ยแก้
๓.เบี้ยจั่น
๔. เบี้ยนาง
๕. เบี้ยหมู
๖. เบี้ยพองลม
๗. เบี้ยบัว
๘. เบี้ยตุ้ม

     เหรียญทองชิ้นแรก    สร้างจากโรงกษาปณ์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประทับตราจักรทุกมุม น้ำหนัก ๒๐ บาท ทำด้วยทองคำเนื้อดี ตามมูลค่าทองคำหนัก ๑ บาท เท่ากับเงิน ๑๖ บาท เหรียญนี้จึงมีมูลค่า ๓๒๐ บาท
เหรียญทองแปทศ ทองแปพิศ และทองแปพัดดึงส์    ประกาศใช้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๖ ทำด้วยทองคำเนื้อแปดเศษสองมี ๓ ขนาด ราคา ๘ บาท ๔ บาท ๑๐ สลึง เรียกว่า ทศ แปลว่า ๑๐ แป เป็นเงิน ๑ ชั่ง พิศ แปลว่า ๒๐ แปเป็นเงิน ๑ ชั่ง และพัดดึงส์ แปลว่า ๓๒ แปเป็นเงิน ๑ ชั่ง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๗ เนื่องในงาน เฉลิมพระชนม์พรรษา ๖๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นเหรียญตราพระมหาพิชัยมงกุฎหนัก ๔ บาท มี ๒ ชนิด ทำด้วยทองคำ และทำด้วยเงิน ใช้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชาวจีนแต้จิ๋วเรียกเหรียญแต้เหม็น
เบี้ยซีก เบี้ยเสี้ยว    สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๐๘ ทำด้วยทองแดง ที่มีตราเหมือนเบี้ยอัฐ และเบี้ยโสฬสอย่างใหญ่เรียกว่า ซีก มีค่า สองอันต่อหนึ่งเฟื้อง อีกชนิดหนึ่งมีขนาดเล็กเรียกว่าเสี้ยว มีค่าสี่อันต่อหนึ่งเฟื้อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น